Choose Your Glass Style

 

       
Float Glass Laminated Glass​ Raw Material Low-E Glass Insulated Glass

 

Float Glass

ประเภทของกระจกโฟลต (Float Glass) 

กระจกโฟลต (Float Glass) แบ่งออกเป็น 2  ประเภทดังนี้

     1.กระจกโฟลตใส (Clear Float Glass) เป็นกระจกที่เกิดจากการหลอมของซิลิก้าสารประกอบต่างๆ กระจกประเภทนี้จะทำให้มีรอยต่อระหว่างกระจกน้อย สามารถนำไปใช้งานได้กับผนังภายนอก ผนังภายในอาคารได้ Clear Float Glass เหมาะกับการใช้งานประเภทแสดงสินค้า แต่อาจไม่เหมาะกับส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัว
      2.กระจกสี (Tinted Float Glass) มีการผสมออกไซด์ในเนื้อกระจกเพื่อให้เกิดสีสันแตกต่างกันไป เกิดความสวยงาม ช่วยลดความจ้าของแสงที่ส่งผ่านกระจกสีทำให้ได้แสงที่นุ่มนวลและเกิดความสบายตาในการมอง แต่ออกไซด์ที่ใส่เข้าไปจะอมความร้อนจึงแตกได้ง่ายสีของกระจกยังสามารถช่วยตัดแสงที่จะส่องเข้ามาในตัวอาคาร ทำให้ประหยัดพลังงานภายในอาคารจึงเหมาะกับงานภายนอก

 

Laminated Glass​ Raw Material

ส่วนประกอบของกระจกลามิเนต (Laminated Glass​ Raw Material) 

กระจกลามิเนต คือ การนำกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Safe Glass) หรือกระจกธรรมดา (Annealed Glass / Floated Glass) ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป มาทำการ "ลามิเนต" ทำเป็นชั้นๆ โดยประกบคั่นกลางระหว่างแผ่นกระจกด้วยฟิล์ม PVB (Poly Vinyl Butyral) หรือ EVA (Ethylene Vinyl Acetate) เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต้องการความแข็งแกร่งมากขึ้น และตอบสนองการใช้งานในด้านความปลอดภัยที่สูงกว่ากระจกประเภทอื่น จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการรีดด้วย Roller ซึ่งทำให้ PVB Film ยึดติดเข้ากับกระจก หลังจากนั้นกระจกที่ประกบแล้วจะถูกนำไปอบในเตา Auto Clave ที่ควบคุมอุณหภูมิ และความดันที่เหมาะสมเพื่อไล่อากาศออกจนหมด ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต

 

 

Low-E Glass

 

     คุณสมบัติเด่นของ กระจก สะท้อนแสง Low-E คือ มีความทนทานต่อรอยขีดข่วน เก็บรักษารวมถึงดูแลรักษาง่ายสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานหลากหลายรูปแบบ นอกเหนือจากการเป็น กระจก ที่สามารถสะท้อนความร้อน ช่วยประหยัดพลังงานแล้วกระจก โลว์อี ยังสามารถถูกปรับไปใช้งานเป็น กระจก เก็บเสียง นำไปดัดโค้ง กระจก กันความร้อน ฯลฯการติดตั้ง กระจก Low-E ควรหันด้านเคลือบเข้าสู่ภายในเสมอ บริเวณด้านที่เคลือบควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เนื่องจากเมื่อถูกรอยขีดข่วนอาจทำให้ประสิทธิภาพในการกรองแสงด้อยลง กระจก Low-E เป็น กระจก ที่ควรเช็ดทำความสะอาดบ่อยๆเนื่องจาก กระจก จะติดฝุ่นได้ง่ายกว่า กระจก ทั่วไป แต่ทั้งนี้ กระจก Low-E เป็น กระจก ที่ให้การป้องกันความร้อนที่ดีมากประเภทหนึ่ง
      กระจก Low-E สามารถใช้งานกับบ้านพักอาศัยทุกประเภท อาคารสูง อาคารสำนักงาน โรงแรม อาคารพาณิชย์ ศูนย์แสดงสินค้าห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ รวมไปถึงการตกแต่งประเภทอื่นๆได้

     
  

     "LOW-E GLASS" คือ กระจกกันความร้อนแบบการแผ่รังสีความร้อนต่ำ กระจกชนิดนี้โดยปกติจะเคลือบสารฉนวนกันรังสีอินฟาเรดหรือรังสีความร้อนไว้ ด้านในของกระจกฉนวน เพื่อทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้รังสีความร้อนแพร่ผ่านจากภายนอกเข้าสู่ภายใน อาคาร เมื่อรวมกับประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของช่องว่างอากาศ ทำให้กระจกชนิดนี้สามารถควบคุมปริมาณความร้อนที่เข้าสู่ภายในอาคารได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ภายในเย็นสบาย ลดการทำงานและยืดอายุของระบบปรับอากาศ รวมทั้งประหยัดค่าไฟฟ้า โดยที่ยังให้ความสว่างภายในอย่างเพียงพอ

                                                   

      กระจก Low-E แบ่งเป็นสองประเภท คือ Softcoat Low-E หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Offline coating กับ Hardcoat Low-E หรือที่เรียกว่า Online coating ลักษณะตัวอย่างของ Softcoat ผิวหน้าจะเคลือบเป็นลักษณะเหมือนเคมีที่ทาบบนตัวผิว ถ้าถูกกระทบกับมือหรือเศษวัสดุผิว Softcoat จะเป็นรอย     

     ดังนั้นกระจกชนิดนี้จึงนิยมทำเป็นกระจกสองชั้น เช่น กระจกลามิเนต หรือ กระจกสุญญากาศ (DOUBLE GLAZING GLASS) ที่มี AIR gap ตรงกลาง ทำให้น้ำหนักของมันเพิ่มขึ้น ส่วน Hardcoat คือ การทำการอบกระจกอีกครั้ง ทำให้สารเคมีที่ผิวหน้าจะซึมเข้าตัวเนื้อกระจก จึงสามารถสัมผัสที่ผิวหน้าที่กระจกได้, “กระจกสูญญากาศ (DOUBLE GLAZING GLASS)” แต่ละชุดจะประกอบด้วยกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไป มีระยะห่างกันตามขนาดที่กำหนดเพื่อเป็นช่องเก็บอากาศ (AIR gap) คุณสมบัติเด่นของกระจกชนิดนี้ คือ ช่วยประหยัดพลังงานได้มาก ตั้งแต่ 75-95 % ซึ่งสามารถประหยัดทรัพยากรในระบบทำความเย็นและระบบระบายความร้อนได้ดี กระจกสูญญากาศไม่ทำให้เกิดฝ้า หรือละอองน้ำที่ผิวกระจกและลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี

 

Insulated Glass

 

กระจก อินซูเลท ( Insulated Glass ) เป็นกระจกที่มีช่องว่างระหว่างกระจก อาจมี 1-2 ช่อง โดยช่องว่างนี้เกิดจากการนำวัสดุคั่นกลางระหว่างกระจกตามขอบกระจกโดยรอบ  บริเวณกลางกระจกจึงสามารถมองทะลุได้เหมือนกระจกทั่วไป  วัตถุประสงค์หลักของกระจกอินซูเลท คือ การลดการถ่ายเทความร้อนระหว่างภายในและภายนอกอาคาร

ขั้นตอนการผลิต ( Insulated Glass Process )   

วัสดุทั่วไปที่ใช้คั่นกลางคืออลูมิเนียม โดยอลูมิเนียมจะถูกขึ้นรูปให้มีช่องว่างตรงกลาง และด้านที่หันเข้าช่องว่างระหว่างกระจกจะมีรูพรุนให้อากาศถ่ายเทระหว่างช่องว่างของกระจก และช่องว่างตรงกลางอลูมิเนียมได้ ช่องว่างของอลูมิเนียมมีไว้เพื่อใส่สารดูดความชื้น (โดยทั่วไปคือ ซิลิกาเจล) เมื่อปิดขอบโดยรอบของกระจกอินซูเลท อากาศจะไม่สามารถผ่านเข้าออกระหว่างช่องว่างกลางกระจกกับอากาศภายนอกได้ สารดูดความชื้นจะดูดความชื้นออกจากอากาศที่อยู่ระหว่างกระจก ทำให้อากาศแห้งสนิท ซึ่งอากาศแห้งจะเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีชนิดหนึ่ง ทำให้กระจกอินซูเลทสามารถกันการถ่ายเทความร้อนได้

จุดอ่อนของการใช้อลูมิเนียมเป็นวัสดุคั่นกลาง คือ ความร้อนที่สามารถถ่ายเทผ่านอลูมิเนียมได้ จึงมีการนำวัสดุอิ่น เช่น พลาสติก มาใช้แทนเพราะนำความร้อนน้อยกว่า แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากปัญหาความแข็งแรงในการรับการบิดตัวของกระจกและรับแรงอัดที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต

     

     กระจกแผ่นเรียบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นกระจกโฟลท กระจกนิรภัยเทมเปอร์ กระจกฮีทสเตรงเท่น กระจกลามิเนต กระจกสะท้อนแสง กระจก Low-E สามารถนำมาเป็นองค์ประกอบของกระจกอินซูเลทได้ โดยกระจกต้องไม่โก่งงอเกิน 2 มม.

     อากาศแห้งในช่องว่างระหว่างกระจก สามารถทดแทนด้วยก๊าซเฉื่อยได้ เพื่้อเพิ่มคุณสมบัติในการกันความร้อน เพราะก๊าซเฉื่อยมีความสามารถในการนำความร้อนได้น้อยกว่าอากาศแห้ง ก๊าซเฉื่อยที่เป็นที่นิยมคือ ก๊าซอาร์กอน

                                            

  การเลือกใช้กระจกชนิดต่างๆ และชนิดของก๊าซ จะมีผลต่อคุณสมบัติในการกันความร้อน การกันเสียง การทนต่อแรงกระแทกและแรงลม แต่คุณสมบัติที่ดีก็มาพร้อมกับราคาที่สูงขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีการปรึกษากันระหว่าง เจ้าของงาน สถาปนิก วิศวกร ผู้ติดตั้ง และโรงงานผู้ผลิต ถึงความต้องการของเจ้าของงานและสถาปนิก ความเป็นไปได้ในการผลิตและการติดตั้ง รวมทั้งความเหมาะสมคุ้มค่าของราคา